วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

.นักเขียนการ์ตูน

อาชีพที่ใฝ่ฝันในอนาคต...นักเขียนการ์ตูน


นักวาดการ์ตูน คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการเขียนการตูน ตามธรรมเนียมแล้วงานเขียนของนักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่จะเป็นแนวการ์ตูนขำขัน (ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น) และมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอเบื้องต้นคือเพื่อความบันเทิง งานเขียนดังกล่าวมีเนื้อหาที่หลากหลาย นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนช่องเดียวจบ และตีพิมพ์ในสื่อชนิดต่างๆ เช่น ในนิตยสารหรือในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

คำว่านักเขียนการ์ตูนนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ หมายถึงนักเขียนที่เขียนการ์ตูนประเภทหลายช่องจบ (comic strips) การ์ตูนคอมมิค (comic books) และการ์ตูนเรื่องยาวหรือนิยายภาพ (graphic novels) ด้วย

การวาดการ์ตูน



ลักษณะของงาน

               นักเขียนการ์ตูนจัดว่าเป็นศิลปินผู้สร้าง และเขียนหรือวาดภาพการ์ตูน จากจินตนาการหรือ จากแบบ สำหรับผู้ที่วาดภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ ซึ่งโดยปกติมักเป็นภาพล้อ  เพื่อใช้ประโยชน์และสื่อสาร ในสื่อต่างๆ นั้นเรียกว่า ผู้เขียนภาพล้อเลียน

นักเขียนการ์ตูนจะสร้างสรรค์ กำหนดลักษณะของตัวการ์ตูนแต่ละตัวตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และวาดตัวการ์ตูนด้วยดินสอ ลงด้วยหมึก และสีตามต้องการด้วยสีจริง และสีจากโปรแกรมการวาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ให้เข้ากับแนวเนื้อเรื่องที่วางกรอบไว้ เพื่อนำไปใช้พิมพ์แล้วจำหน่าย หรือด้วยวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ 

งานการ์ตูนสามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการโฆษณารณรงค์โครงการ หรือประชาสัมพันธ์เพื่อรับใช้ชุมชนและสังคม ใช้เป็นสื่อทางพาณิชย์ หรือใช้เป็นสื่อสำหรับเรื่องราวที่อ่านเพลิดเพลินได้ทั้งเด็กผู้ใหญ่ และใช้ส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก และเยาวชน 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา งานการ์ตูนได้รับการถ่ายทอดลงบนฟิล์มภาพยนตร์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ช่วยทำงานในส่วนที่ต้องมี รายละเอียด ซึ่งมีขั้นตอนหลายมิติ ตามกระบวนการผลิตและการถ่ายทำช่วยทำให้ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวเหมือนจริงและสวยงามมากขึ้น หรือที่เรียกว่าภาพเอนิเมชั่น (Animation) 

ซึ่งในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนต้องการนักวาดการ์ตูนมากขึ้น คือใช้ภาพประมาณ 16 - 24 ภาพในแต่ละท่วงท่าของการเคลื่อนไหว หรือปรับให้ทันสมัย ใช้เป็นต้นแบบประกอบในการวาดการ์ตูนการเล่นทางคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต 

นอกจากนี้ยังมีนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเรียกตามผลงาน เช่น ผู้ที่วาดภาพภาพล้อ เพื่อใช้ประโยชน์และสื่อสารในสื่อต่างๆ นั้นเรียกว่า  นักเขียนการ์ตูนขำขัน  นักเขียนการ์ตูนเรื่องยาว  หรือนักเขียนหนังสือการ์ตูน



คุณสมบัติของอาชีพนักเขียนการ์ตูน

1. มีใจรักงานวาดการ์ตูน มีจินตนาการ

2. มีทักษะและฝีมือในการสร้างสรรค์ ลายเส้นการ์ตูน

3. มีความเพียร อดทน ความขยัน ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและเวลา

4. เข้าใจสภาพเงื่อนไขทางธุรกิจ

5. เป็นคนสนใจใฝ่หาความรู้ทางด้านศิลปะ ไม่หยุดนิ่ง และช่างสังเกต



เหตุผลที่อยากจะทำอาชีพนี้

      เริ่มแรกไม่เคยมีความคิดที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนซักนิด เป็นเพียงแค่คนธรรมดาๆที่ชอบติดตามอ่านการ์ตูนมาตั้งแต่เล็กๆ ครั้งหนึ่งได้หยิบหนังสือการ์ตูนเล่มหนึ่งขึ้นมาอ่าน บอกเลยว่าไม่ได้นึกชอบใจกับลายเส้นภาพเลยซักนิด คิดว่าอ่านเล่มเดียวก็คงเบื่อ แต่สิ่งที่น่าแปลกก็เกิดขึ้น เมื่ออ่านเล่มแรกจบก็คิดว่าอีกซักเล่มจะเป็นไรไป และก็คิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนรู้ตัวอีกทีว่าถอนไม่ขึ้น เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาให้ความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์ ทั้งความสนุก ตึงเครียด ชวนลุ้นให้ติดตามทุกวินาทีที่ได้สัมผัส ไหนจะสิ่งที่คอยสอดแทรกสอนความรู้อะไรต่างๆมากมายแฝงเข้ามา ความรู้สึกตื่นเต้นเนื้อสั่นมือสั่นไหวระริก ทั้งความยินดี ความโศกเศร้า สนุก หัวเราะ อาการทั้งหลายแหล่ปะปนจนรู้สึกว่าถ้าซักวันเราสามารถทำอะไรแบบนี้ได้บ้าง คงจะน่ายินดีไม่น้อย


แรงบันดาลใจ

 อาจารย์ มะซะชิ คิชิโมะโตะ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น โดยเริ่มเป็นที่รู้จักโดยส่งเรื่องคาระคุริ ในปี พ.ศ. 2539 และโด่งดังจากเรื่อง นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เริ่มตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2542ในประเทศญี่ปุ่น มะซะชิได้รับรางวัลนักเขียนหน้าใหม่จาก โชเน็นจัมป์ 

ท่านเป็นคนที่ขยัน ไม่ย่อท้อต่อความลำบาก เพราะ ท่าน เขียนการ์ตูนเรื่อง นารูโตะ หลายคนคงจะรู้จักกันดี ท่านได้เขียนมาเป็นเวลา 15 ปีจนการ์ตูนเรื่องนี้จบจนได้ จึงทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ถึง ความอดทน ถึงแม้จะมีอุปสรรค แต่ก็ต้องผ่านไปได้ ข้าพเจ้าจึงมี อาจารย์ มะซะชิ คิชิโมะโตะ เป็นแรงบันดาลใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น