วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา ประวัติความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา พ.ศ 2559 ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2559

รู้จักความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา

   การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

          วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ 

          - วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11 
          - วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12 
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้ 

            1.   เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้ 
            2.   ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้ 
            3.   ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้ 
            4.   พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้ 
            5.   เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้ 
            6.   เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ 
            7.   เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
            8.   ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
            9.   หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

          ใน วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า 

          อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ    หรือ    อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ แปลว่า  ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  (ว่า 3 ครั้ง)  หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น  ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

ขอบคุณ http://lent.sanook.com/

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษานี้มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้

           ๑. พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่นๆแต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ 
           ๒. การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป 
           ๓. เป็นเทศกาลที่พระพุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ เช่น การดื่มสุราสิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น ๔. นอกจากเป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ แล้วในช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีลฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น

พิธีทางศาสนา

    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ยังมีประเพณีสำคัญอยู่ ๒ ประเพณี ควรนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

๑. ประเพณีแห่เทียนพรรษา

           ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรงด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้านเป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษา
           ก่อนจะนำเทียนไปถวายนี้ ชาวบ้านมักจัดเป็นขบวนแห่แหนกันไปอย่างเอิกเกริกสนุกสนานเรียกว่าประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษาดังขอสรุปเนื้อหาจากหนังสือนางนพมาศ ดังนี้

           เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบกและทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำประดับธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถหอพระธรรม และพระวิหารจุดตามให้สว่างไสวในที่นั้นๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอาราม

           ในวัดราษฎร์ทั้งหลาย ก็มีพิธีทำนองนี้ทั่วพระราชอาณาจักร ปัจจุบัน ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษานี้ยังถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป บางจังหวัด เช่น อุบลราชธานี ถือให้เป็นประเพณีเด่นประจำจังหวัดตนได้จัดประดับตกแต่งต้นเทียนใหญ่ๆ มีการประกวดแข่งขันแล้วแห่แหน ไปถวายตามวัดต่าง ๆ

๒. ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

           การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขาได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ 

           ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายผ้าอาบน้ำฝนถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ

           แม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรม อย่างนี้อยู่บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่นๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน

อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

         เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ 

          ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์ 
          ๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ 
          ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ 
          ๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา 
          ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ

          และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย  งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ

ประวัติวันเข้าพรรษา และความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

           เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัด เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พวกชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาว่า ช่างไม่รู้จักกาลเวลาเสียเลยพากันจาริกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝนบางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครนถ์ นักบวชในศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยงไปในฤดูฝนเช่นนี้ เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันตรัสถามจนได้ความเป็นจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า

           อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง    แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

          พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา 7 วัน คือ
1. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก
3. ไปเพื่อธุระของสงฆ์
4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

           วันเข้าพรรษานี้โดยทั่วไปกำหนดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษา ในวันแรม๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาได้ก็เลื่อนเข้าพรรษา ในแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ก็ได้ ไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา) 
 
๒. การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย 

           สมัยก่อนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอ พระสงฆ์เข้าพรรษาก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนอง เต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไปชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น

           ดังนั้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้บ้านตน พระภิกษุสงฆ์แนะนำสั่งสอนให้เกิด ศรัทธาในการปฏิบัติ ตามหลักทานศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่น ๆ

           ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า

           "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"

           นอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทย ในสมัยสุโขทัยนั้นยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น ๆดังรายละเอียดปรากฎอยู่ในหนังสือ นางนพมาศ พอสรุปได้ดังนี้ 

           เมื่อถึงเดือน ๘ ก็มีพระราชพิธีอาษาฒมาส พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป จะได้เข้าจำพรรษา ในพระอารามต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้จัดแจงเสนาสนะถวาย พร้อมทั้งบริขารอันควรแก่สมณะบริโภค เช่น เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักร แม้ชาวเมืองสุโขทัย ก็บำเพ็ญกุศลเช่นนี้ในวัดประจำตระกูลของตน 

ประเพณีตักรบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษา

     การตักบาตรดอกไม้ เดิมทีเดียวได้มีเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของนายสุมนมาลาการที่ได้ถวายดอกมะลิ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวมีอยู่ว่า       ในกรุงราชคฤห์มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อ "สุมนะ" ทุกๆ เช้า เขาจะนำดอกมะลิ 8 ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร และจะได้ทรัพย์มาเป็นค่าดอกไม้วันละ 8 กหาปณะเป็นประจำ วันหนึ่ง ขณะที่เขาถือดอกไม้จะนำไปถวายพระราชา พระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาต พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย นายสุมนะเห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก อยากจะถวายดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ที่ถืออยู่ในมือ เพื่อเป็นพุทธบูชา       เขาคิดว่า "ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้เหล่านี้ในวันนี้ เราอาจจะถูกประหาร หรือถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้นก็ได้ แต่ก็ช่างเถอะ  เพราะถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้ ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้เท่านั้น แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้ จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า" 

    เขาคิดอย่างนี้แล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต โปรยดอกไม้ทั้ง   8 ทะนาน บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้น สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น คือ ดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ 2 ทะนาน ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก 2 ทะนาน แผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ 2 ทะนานอยู่ข้างซ้าย  ส่วนอีก 2 ทะนาน อยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป เมื่อประทับยืน กำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกัน

     นายสุมนะเห็นดังนั้น เกิดความปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง แทนที่จะลงโทษกลับชื่นชมและปูนบำเหน็บรางวัลทำให้นายมาลาการมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น เพราะเหตุนี้ ได้มีประเพณีตักบาตรเข้าพรรษาของไทยที่ได้สืบทอดมานาน และเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีการใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งในการใส่บาตรเรียกว่า 

 

ขอมูนจาก

http://guru.sanook.com/4160/

ความสำคัญของโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความสำคัญของโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.  ความสำคัญของโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 
      โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้
คำแนะนำ

ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ 
      โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 
1.ความสามารถในการสื่อสาร 
     เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ 
2.  ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 
     การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร 
      การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน 
     การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ 
     การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น 
     การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 
      เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 
       เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต 
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 
       เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

ข้อมูนจาก

http://www.nrw.ac.th/krumod/e-learning/Unit1-1-2.html

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติลูกเสือ


         การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง 
           จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง” 

 

                 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการลูกเสือไทย ทุกวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของชาวลูกเสือไทยทั่วประเทศ เพราะตรงกับวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ วันนี้ ขอชวนชาวลูกเสือ-เนตรนารีทั้งหลาย มารู้จักประวัติความเป็นมาของวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ รวมทั้งมารู้จักต้นกำเนิดของลูกเสือโลกกันดีกว่าค่ะ   ลูกเสือโลก ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ ( บี.พี. ) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2450 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร และฝึกให้คนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม                 หลังจากนั้นกิจการลูกเสือก็เริ่มแพร่ขยายเข้าไปในประเทศยุโรปที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร กระทั่งแพร่ขยายเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 2  เมื่อกิจการลูกเสือแพร่หลายขึ้น ในปี พ.ศ.2451 ท่านลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ จึงได้แต่งหนังสือฝึกอบรมลูกเสือขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน โดยหนังสือเล่มดังกล่าวมีชื่อว่า ”Scouting For Boys” และคำว่า ”Scout” ซึ่งใช้เรียกแทน ”ลูกเสือ” มีความหมายตามตัวอักษร คือ            

              S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน           

              C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี           

              O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท           

              U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี           

              T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

          สำหรับในประเทศไทยเอง กิจการลูกเสือ เริ่มต้นขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามเกิดศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในยามสงบ เช่น ช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทรงเห็นว่า ลูกเสือจะช่วยให้คนไทยรู้จักรักชาติ มีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญูกระทั่งอีก 2 เดือนถัดมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่ากิจการเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้ว พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งถือเป็นประเทศที่ 3 ของโลกที่จัดตั้งกองลูกเสือขึ้น ต่อจากประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ ”นายชัพพ์ บุนนาค”จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้นบ้าง ทำให้ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากล และมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก โดยถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด

          ลูกเสือกองแรกของไทยก่อตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก เรียกว่า ”ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1? ก่อนที่จะขยายตัวไปจัดตั้งตามโรงเรียน และสถานที่ต่าง ๆ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานคติพจน์ เพื่อให้เด็กที่จะเข้าประจำการในกองลูกเสือได้ปฏิญาณตนว่า ”เสียชีพอย่าเสียสัตย์”ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติว่า ”พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงใฝ่พระทัยในกิจการลูกเสือเป็นอย่างยิ่ง” ถึงกับทำให้กองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามนามลูกเสือกองนี้ว่า ”กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม” ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามความประสงค์ และลูกเสือกองนี้ได้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้งสองข้าง และยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้หลังจากทรงสถาปนากิจการลูกเสือขึ้นมาแล้ว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ และตั้งสภากรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติขึ้นโดยพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก ต่อมาทุกครั้งที่พระองค์เสด็จไปยังจังหวัดใดก็ตามก็จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเข้าประจำกองลูกเสือประจำจังหวัดนั้น ๆ ให้ด้วยและหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ได้ทรงฟื้นฟูกิจการลูกเสืออีกครั้ง โดยในปี พ.ศ.2470 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์และจัดให้อบรมลูกเสือหลายรุ่น กระทั่งรุ่นสุดท้ายในปี พ.ศ.2475 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น กิจการลูกเสือจึงได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยรัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยยุวชนทหาร และรับเด็กที่เคยเป็นลูกเสือมาแล้ว มาฝึกวิชาทหาร ส่วนกิจการลูกเสือก็ขยายให้กว้างขวางขึ้น โดยมีการจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าเสนาและลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาขึ้น เพื่อฝึกร่วมกับยุวชนทหาร ทำให้กิจการลูกเสือซบเซาลงบ้างในยุคนี้            

        ในปี พ.ศ.2490 กิจการลูกเสือกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง หลังจากทางราชการได้จัดชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ และส่งเจ้าหน้าที่ในกองลูกเสือไปรับการฝึกอบรมวิชาลูกเสือตามมาตรฐานสากล และตามแบบนานาประเทศ กระทั่งมีมีพระราชบัญญัติลูกเสือบังคับใช้ โดยคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้บริหารวัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือได้รับการปรับปรุงและเน้นให้เห็นชัดเจนรัดกุม ยิ่งขึ้น มีความว่า“คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ”   การกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติเพื่อเป็นการระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทยให้พัฒนารุ่งเรือง มาจวบจนทุกวันนี้ ทางราชการจึงกำหนดให้ทุกวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ” หรือ “วันลูกเสือ”โดยในวันนี้บรรดาลูกเสือไทยจะจัดกิจกรรมที่เป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน รวมทั้งนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ และจัดให้มีการสวนสนามในโรงเรียน หรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น ณ สนามศุภชลาศัย หรือสนามกีฬาแห่งชาติ ที่ทุก ๆ ปี จะมีเหล่าลูกเสือจำนวนกว่าหมื่นคนมาร่วมเดินสวนสนาม เพื่อแสดงความเคารพ และกล่าวทบทวนคำปฏิญาณต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง  

     ลูกเสือสำรอง : อายุ 8-11 ปี เทียบชั้นเรียน ป.1-ป.4 มีคติพจน์คือ ทำดีที่สุด (DO YOUR BEST)             

     ลูกเสือสามัญ : อายุ 12-13 ปี เทียบชั้นเรียน ป.5-ป.6 มีคติพจน์คือ จงเตรียมพร้อม (BE PREPARED)             

     ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ : อายุ 15-17 ปี เทียบชั้นเรียน ม.1-ม.3 มีคติพจน์คือ มองไกล (LOOK WIDE)             

     ลูกเสือวิสามัญ : อายุ 17-23 ปี เทียบชั้นเรียน ม.4-ม.6 มีคติพจน์คือ บริการ (SERVICE)             

     ลูกเสือชาวบ้าน : อายุ 15-18 ปี มีคติพจน์คือ เสียชีพอย่าเสียสัตย์            

     ส่วนผู้หญิงให้เรียกว่า “เนตรนารี” และแบ่งประเภทเหมือนลูกเสือ  

            ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

              ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา

             ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

            ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468

          ปี  พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

          ปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)  ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ

          ปั พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก

          ปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

          ปี พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)

          ปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956)  เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ

          ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961)  เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย

          ปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962)  เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม

 

1. ยุคก่อตั้ง (พ.ศ. 2454 – 2468)  รวม 14 ปีอยู่ในรัชกาลที่ 6

             1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทรงจัดตั้งกองเสือป่า(Wild Tiger Corps)พื่อให้ข้าราชการและพลเรือนได้มีโอกาสฝึกหัดวิชาทหารเพื่อเป็นคุณ ประโยชน์ต่อตนเองและบ้านเมืองในอันที่จะทำให้รู้จักระเบียบวินัย มีกำลังใจ กำลังกายเข้มแข็ง มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

             1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ทรงสถาปนาลูกเสือไทย โดยตราข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ และจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นตามโรงเรียน และสถานที่อันสมควร และพระราชทานคำขวัญให้กับลูกเสือไว้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”จากนั้นได้ตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ ขึ้น โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกและหลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรง เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2490 ในยุคนี้มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เช่น พ.ศ. 2454 - ตั้งลูกเสือกองแรกที่ โรงเรียนมหาดเล็ก ( คือ โรงเรียนวชิราวุธปัจจุบัน ) เป็นกองลูกเสือ ในพระองค์ เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1

             ปี พ.ศ. 2458 พระราชทานเหรียญราชนิยมให้แก่ลูกเสือโท ฝ้าย บุญเลี้ยง (ต่อมาเป็นขุนวรศาสน์ดรุณกิจ)

             ปี พ.ศ. 2459 ตั้งโรงเรียงผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ณ สโมสรเสือป่าจังหวัดพระนคร หลักสูตร 2 เดือน เปิดได้ 4 ปีก็ล้มเลิก

             ปี พ.ศ. 2463 ส่งผู้แทนลูกเสือไทย 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 1 (World Scout Jamboree) ณ โคลัมเบีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ

             ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก เป็นกลุ่มแรกมีประเทศต่างๆ รวม 31 ประเทศ และถือเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง (Foundation Members) ขององค์การ ลูกเสือโลก

             ปี พ.ศ. 2467 ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศ เดนมาร์กโดยพระยาภรตราชา เป็นหัวหน้าคณะ

             ปี พ.ศ. 2468 การลูกเสือไทยสูญเสียพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยรัชกาลที่ 6

2. ยุคส่งเสริม (พ.ศ. 2468 – 2482)   สมัยรัชกาลที่ 7 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

          2.1 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชการที่ 7 ยังทรงเป็นสภานายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติอยู่

              ปี พ.ศ. 2470 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Scout Jamboree) ณ พระราชอุทยาน สราญรมย์ กรุงเทพฯ และกำหนดให้มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งต่อไปในทุก ๆ 3 ปี

              ปี พ.ศ. 2472 ส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 3 ณ ประเทศอังกฤษ

              ปี พ.ศ. 2473 มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 ณ พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีคณะลูกเสือต่างประเทศจากญี่ปุ่นมาร่วมงานด้วย โดยจัดหลักสูตร 2 เดือน ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ล้มเลิก เพราะเปลี่ยนการปกครอง

          2.2 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลที่ 7 ก่อนสละราชสมบัติและรัชกาลที่ 8 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2  (พ.ศ. 2475 – 2482)

              ปี พ.ศ. 2475 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้จัดตั้ง “ลูกเสือสมุทรเสนา” ขึ้นอีกหนึ่งเหล่า โดยจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาในจังหวัดแถบชายทะเลเพื่อให้เด็กในท้อง ถิ่นมีความรู้ ความสามารถในวิทยาการทางทะเล

              ป พ.ศ. 2476 ตั้งกรมพลศึกษาขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีกองลูกเสืออยู่ในกรมพลศึกษา และส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 4 ประเทศฮังการี โดยมีนายอภัย จุนทวิมล เป็น หัวหน้า

                        - ได้จัดทำตราคณะลูกเสือแห่งชาติขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล ที่คณะลูกเสือต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็มีตราคณะลูกเสือของตนเองทั้งสิ้น โดยจัดทำตราเป็นรูป (Fleur de lis) กับ รูปหน้าเสือประกอบกัน และมีตัวอักษรคำขวัญอยู่ภายใต้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” และ ประกาศ ใช้ตราประจำคณะลูกเสือแห่งชาติ และกฎลูกเสือ 10 ข้อ

                        - เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งเรียกในทางราชการว่า การฝึกอบรมวิชาพลศึกษา (ว่าด้วยลูกเสือ) ประจำปี 2478 เป็นเวลา 1 เดือน

                       - ประกาศตั้งลูกเสือสมุทรเสนา พ.ศ. 2479 ประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสนาและสมุทรเสนา

                       - พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 กำหนดลักษณะธงประจำกองคณะลูกเสือแห่งชาติ และธง ประจำกองลูกเสือ

              ปี พ.ศ. 2482 พระราชบัญญัติลูกเสือขึ้นสิ่งสำคัญคือให้คณะลูกเสือแห่งชาติมีสภาพเป็นนิติบุคคลได้ จัดตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดลูกเสือ อำเภอลูกเสือ และ แบ่งลูกเสือออกเป็น 2 เหล่า คือ ลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนา

                       - มีพระราชบัญญัติให้ทรัพย์สินกองเสือป่าเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติ

                      - รัฐบาลได้จัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ขี้นมาซ้อนกับกิจการลูกเสือ การฝึกยุวชนทหารแตกต่างจากการฝึกลูกเสือ โดยเป็นการฝึกเยาวชนของชาติในทางทหารอย่างแท้จริง

3. ยุคประคับประคอง (พ.ศ. 2483 – 2489) ระยะนี้ลูกเสือซบเซาลงมาก เนื่องจากอยู่ภาวะสงคราม

             ปี พ.ศ. 2485 - มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับปี พ.ศ. 2485) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ

             ปี พ.ศ. 2488 - สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด การลูกเสือเริ่มฟื้นฟูทั่วโลก

             ปี รัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติสู่พระนคร และถูกลอบปลงพระชนม์

4. ยุคก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 – 2514) เริ่มต้น รัชกาลที่ 9 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

          4.1 ระยะเริ่มก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 – 2503)

            ปี พ.ศ. 2496   เริ่มดำเนินการสร้างค่ายลูกเสือวชิราวุธ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

            ปี พ.ศ. 2497   มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 3 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ

           ปี พ.ศ. 2500   ส่งผู้แทนจากประเทศไทยไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 9 ณ ประเทศอังกฤษ เพื่อเฉลิมฉลองอายุครบ 100 ปี ของลอร์ด เบเดน โพเอลล์

           ปี พ.ศ. 2501   เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้องต้นเป็รครั้งแรกในประเทศไทย

                         - จัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกขึ้นในประเทศไทย 5 สิงหาคม 2501 พ.ศ. 2503 - เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นวูดแบดจ์ ครั้งที่ 1 ณ พระตำหนักอ่าวศิลา จังหวัดชลบุรี

                         - ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศพม่า

          4.2 ระยะก้าวหน้า (2504 – 2514)

            ปี พ.ศ. 2504   มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร เพื่อเฉลิมฉลองที่คณะลูกเสือไทยมีอายุครบ 50 ปี

                       - เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ รุ่นที่ 1 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

                       - วางศิลาฤกษ์ศาลาวชิราวุธ

          ปี พ.ศ. 2505    พลเอกถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี เปิดค่ายลูกเสือวชิราวุธ

                         - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเปิดศาลาวชิราวุธ

             ปี พ.ศ. 2506 
                         - เปิดการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ รุ่นที่ 1 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

                         - จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2506

                          - ได้มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านขึ้นครั้งแรก ณ อำเภอด่านช้าง จังหวัดเลย โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ      ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้าน ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์

                          - ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยเข้าไปร่วมการประชุมลูกเสือโลกครั้งที่ 13 ณ ประเทศญี่ปุ่น

5. ยุคประชาชน (พ.ศ. 2514 – ปัจจุบัน) เนื่องจากปี 2514 เป็นปีที่มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเป็นครั้งแรก

          ปี พ.ศ. 2516 
                        - รับกิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ

                        - กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้นำวิชาลูกเสือเข้าอยู่หลักสูตรโรงเรียน 

                         - มีการจัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญขึ้นในโรงเรียน

                         - รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเปิดการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

          ปี พ.ศ. 2518
                   - ส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 ณ ประเทศเดนมาร์ก

                          - ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 ณ ประเทศเดนมาร์ก

                          - นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกเสือโลกจากการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 28 ณ เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล

          ปี พ.ศ. 2536   เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพฯ ( 33rd World Scout Conference)

          ปี พ.ศ. 2544    จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 / งานชุมนุมเตรียมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (16th National Jamboree / Pre 20th Scout Jamboree, 2003) เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี คณะลูกเสือไทย

          28 ธันวาคม 2544   เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (20th 7 ,dik8, 2547 World Scout Jamboree, 2003) ณ บริเวณหาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
ซึ่งมีเยาวชนลูกเสือชาย – หญิง กว่า 30,000 คน จาก 151 ประเทศทั่วโลกมาร่วมงาน

          5-9 ธันวาคม 2546 -จัดงานชุมนุมลูกเสือมูฮิบบาห์ (12th Muhibbah Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง มีลูกเสือไทย จำนวน 1,266 คน และลูกเสือต่างประเทศในแถบชายแดนภาคใต้ 
ได้แก่ มาเลเซีย 15 คน ศรีลังกา 4 คน และสหรัฐอเมริกา 6 คน เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 1,736 คน

          20-24 กรกฏาคม 2547 จัดงานชุมนุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือครั้งที่ 3 (INDABA) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมงานชุมนุมฯ จำนวน 3,500 คน

          *หมายเหตุ ในสมัยรัชกาลที่9 ได้มีการจัดตั้งค่ายลูกเสือระดับจังหวัดและระดับอำเภอทั่วประเทศ เพื่อเป็นที่ฝึกอบรมลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

 

ขอมูนจาก

http://www.btkschool.com/scout/scout%20thai.html